บทความน่าสนใจ

วันเสาร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เลือกใช้กล้องยังไงให้คุ้ม

เลือกใช้กล้องยังไงให้คุ้ม

          ปัจจุบันเราจะจะเห็นกล้องถ่ายภาพออกมามากมายหลายรุ่นซะเหลือเกิน แต่ละรุ่นก็ยกเอาคุณสมบัติต่าง ๆ เข้ามาเพื่อทำการตลาดด้วยการนำเสนอเทคโนโลยีที่ทางผู้ผลิตเองก็หยิบยกมาเป็นประเด็นให้ผู้สนใจในการถ่ายภาพอยากจะซื้อสินค้าของตนเองซึ่งแน่นอนว่า ไอ้คนธรรมดาอย่างเรา ๆ นิแหละเป็นคนเลือก แต่จะเลือกอย่างไรให้ตรงกับการใช้งานของเราล่ะ เพราะกล้องแต่ละประเภท แต่ละแบบก็มีความสามารถในการใช้งานได้ไม่เท่ากัน ราคาก็ต่างกัน รวมไปถึงอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ ที่ตามมาให้เราต้องเสียเงินสารพัดอย่าง วันนี้ผมเลยอยากจะขอแนะนำการเลือกซื้อกล้องให้ตรงกับความต้องการที่เราจะใช้กันเพื่อความคุ้มค่ากับเม็ดเงินที่จ่ายออกไป 





             ก่อนอื่นเราคงต้องแยกประเภทของกล้องถ่ายภาพออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ กันซะก่อน นั่นก็คือกล้องประเภท Digital Compact และ DSLR ทั้ง 2 ประเภทมีความแตกต่างกันอย่างไรเรามาดูกันในรายละเอียดกันได้เลย



กล้อง Digital Compact



           กล้อง Digital Compact ก็คือกล้องดิจิตอลพกพาทั่วไปที่เราเห็นกัน ตัวกล้องไม่สามารถเปลี่ยนเลนส์ได้ ซึ่งแต่ละค่าย แต่ละรุ่นก็จะมีรายละเอียดสเปกที่แตกต่างกันออกไปตามคุณสมบัตรและราคา ซึ่งตัวกล้อง Digital Compact นี้เองจะเหมาะกับผู้ที่ชื่นชอบการถ่ายภาพ ที่เน้นการพกพาเป็นหลัก ถ่ายไว้ส่งภาพให้เพื่อน ๆ ดูผ่านคอมพิวเตอร์ หรือถ่ายเล่นสนุก ๆ ซึ่งในปัจจุบัน เทคโนโลยีของกล้องประเภทนี้มีการพัฒนามากขึ้น มีความสามารถในการจับภาพที่แม่นยำขึ้น ความคมและสดของสีภาพมีมากขึ้น ในรุ่นตัว Hi-End ที่มีความสามารถในการเก็บความละเอียดสูง ๆ เซ็นเซอร์รวมถึงเนื้อเลนส์ดี ๆ ที่ใช้ในการบันทึกภาพเราจะเรียกกล้อง Digital Compact พวกนี้ว่าเป็นประเภท Pro-Zoomer อย่าง Canon G1X , Fuji X10 กล้อง Digital Compact ระดับนี้จะมีความสามารถในการเก็บรายละเอียดของภาพได้ดีแต่ราคาก็ค่อนข้างที่จะสูงไป ซึ่งอย่างที่กล่าวไปเบื้องต้น ด้วยคุณสมบัติที่พกพาสะดวก ความคมชัดของตัวภาพที่ออกมานั้นเก็บคุณภาพของภาพได้เป็นอย่างดี ทำให้นักท่องเที่ยวหลาย ๆ คนชอบที่จะใช้กล้อง Digital Compact ในการไปเก็บภาพซะมากกว่ากล้องระดับ DSLR มันเบาและดูแลรักษาง่าย

ตัวอย่างภาพจากกล้อง Digital Compact 









กล้องประเภท DSLR





           กล้องประเภท DSLR หรือหลาย ๆ คนเรียกกันว่ากล้องโปร หรือที่เราเห็นช่างภาพส่วนใหญ่ใช้กัน จุดเด่นของ DSLR นั่นก็คือสามารถเปลี่ยนเลนส์ได้ ซึ่งปัจจุบัน ระบบของกล้อง DSLR ได้ถูกพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยพื้นฐานของกล้อง DSLR นั้นจะทำงานด้วยกระจก โดยการทำงานจะเป็นการรับค่าแสงเข้าสู่ตัวกล้องไปยังแผ่นกระจนสะท้อนเข้าสู่ช่องมองภาพ ในการกดชัตเตอร์ในแต่ละครั้ง กระจกจะถูกยกขึ้นเพื่อให้แสงที่เราถ่ายเข้าไปยังเซ็นเซอร์เพื่อการประมวลผลของภาพ ทั้งหมดที่กล่าวมาคือการทำงานของระบบกล้อง DSLR ข้อดีก็คือ เราได้ภาพที่มีคุณภาพสูง มีมิติ และสร้างลูกเล่นในการถ่ายได้มากมาย โดยขึ้นอยู่กับการตัั้งค่าในการถ่าย ซึ่งผู้ใช้อาจจะต้องทำความเข้าใจในระบบของกล้องในโหมดต่าง ๆ เล็กน้อยก่อนใช้ คุณสมบัติของกล้อง DSLR ด้วยระบบการทำงานที่ทำให้เราได้ภาพมีคุณภาพดีและยังสามารถเลือกเลนส์ในการใช้งานได้หลากหลายแล้วนั้น ตัวกล้องยังรองรับอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ ไม่ว่าเป็น Flash , Filter และอุปกรณ์เสริมอื่น ๆ ในการถ่ายภาพอีกมากมาย ซึ่งทั้งหมดนี้ผมจะค่อย ๆ ทยอยเขียนให้อ่านกันในโอกาสหน้าล่ะกันนะครับ


        แล้ว DSLR เหมาะกับคนที่ชอบรูปแบบไหนล่ะ ผมเชื่อหลาย ๆ คนอยากหวังให้ได้ภาพที่สวยและมีคุณภาพแน่นอนว่าต้องหันมาจับกล้อง DSLR กันอย่างแน่นอน ในส่วนของคุณสมบัติและลูกเล่นต่าง ๆ นั้นผมจะไม่ขอระบุให้ทราบเท่าไรนัก อย่างไรถ้าถอย DSLR มาใช้กันแล้ว ก็พยามศึกษาจากคู่มือการใช้งานดูก่อนจะเป็นการดีนะครับ ซึ่งในส่วนของการใช้งานและการตั้งค่าพื้นฐานของตัวกล้องนั้น


ภาพตัวอย่างจากกล้อง DSLR 








         หลังจากที่เราได้ทำความรู้จักกับกล้องดิจิตอลทั้ง 2 ประเภทหลัก ๆ กันไปแล้ว จะเห็นได้ว่ามีความต่างกันในเรื่องของการใช้งานและคุณสมบัติกันพอสมควร ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเอาไปใช้อะไร ด้านไหนนะครับ เพราะบางเครื่องการเลือกใช้ใช้กล้องที่ใหญ่จนเกินไปอย่าง DSLR ถึงแม้คุณภาพของภาพจะออกมาดีกว่าแต่คุณก็ต้องลงทุนในเม็ดเงินที่สูงขึ้น รวมถึงความลำบากในการพกพาพอสมควร เมื่อเทียบกับกล้องประเภท Digital Compact หรือในส่วนของ Digital Compact เองก็ตาม ระบบการวัดแสงและการแบ่งมิติต่างอาจจะยังไม่สามารถเทียบเท่า DSLR เมื่อใช้งานในสภาวะแสงต่ำ ซึ่งเป็นข้องเสียเปรียบสำหรับกล้อง Digital Compact เป็นต้น อย่างไรก็ตามลองศึกษาสเปกของตัวกล้องจากเว็บของค่ายผู้ผลิตก่อนซื้อจะเป็นการดีที่สุดนะครับ วันนี้ขอปิดบทความแต่เพียงเท่านี้ พบกันบทความหน้า.... ^^ 


บทความและภาพโดย :  Zaddman 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น